INFOGRAPHIC “การเป็นข้าราชการที่ดี” ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ต้องยึดจรรยาข้าราชการ (มาตรา 78) คือ
1) ยึดมั่นยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
2) ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ
3) โปร่งใสและตรวจสอบได้
4) ไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
รวมทั้งข้อปฏิบัติตามมาตรา 82 และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 4 ด้าน คือ
1. การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
• หลักประสิทธิภาพ
• หลักประสิทธิผล
• หลักการตอบสนอง
2. ค่านิยมประชาธิปไตย
• หลักภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้
• หลักความเปิดเผย/โปร่งใส
• หลักนิติธรรม
• หลักความเสมอภาค
3. ประชารัฐ
• หลักการกระจายอำนาจ
• หลักการมีส่วนร่วม/การมุ่งเน้นฉันทามติ
4. ความรับผิดชอบทางการบริหาร
• หลักคุณธรรม/จริยธรรม
10 ข้อห้าม ที่ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการ มีดังนี้
1. ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
2. ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว
3. ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
4. ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
5. ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
6. ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
7. ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ
8. ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
9. ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ
10. ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.